วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อัลไซเมอร์

ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยี่ต่างพัฒนากันมากมาย ดังจะเห็นได้จากโทรศัพย์มือถือ แต่ก่อนนั้นมีเครื่องขนาดใหญ่มาก จอก็เป็นขาวดำ ราคาค่อนข้างแพงมากๆ คนมีฐานะเศรษฐกิจดีเท่านั้นถึงได้ครอบครอง แต่ปัจจุบัน กับตรงกันข้ามราคาถูกลง ทุกคนล้วนมีในครอบครอง แม้แต่เด็กประถมก็ยังมีแทปเลตได้ใช้กันแล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ใช้เทคโนโลยี่กันอย่างคุ้มค่า การถ่ายรูปสมัยก่อนต้องอาศัยกล้อง กว่าจะล้างมาเป็นรูปที่ได้มองเห็นกันได้เก็บไว้ชื่นชมก็เสียค่าใช้จ่ายหลายบาท แต่ปัจจุบันจะล้างไว้ดูก็ได้หรือจะเก็บใส่แผ่นไว้เล่นในเครื่องเล่นดีวีดีก็ได้เช่นกันง่ายเหลือหลาย มีคุณยายท่านหนึ่งซึ่งอายุ 80 กว่าๆ ก่อนหน้านั้นท่านเป็นคนเข้าวัดจำศิลภาวนา แต่ปัจจุบันความจำต่างๆ ท่านเลื่อนลางเหลือเกินท่านจำกระทั้งลูกหลานของท่านเองก็ไม่ได้ โรคนี้ก็คืออัลไซเมอร์ แต่เมื่อท่านได้เห็นรูปถ่ายที่ท่านได้ถ่ายกับลูกหลานความจำต่างๆ ท่านก็คืนมาเป็นบางส่วน นี้แหละจะมีสักกี่คนที่ใช้เทคโนโลยี่สักกี่คนให้เป็นประโยชน์
โรคอัลซไฮเมอร์[1] หรือ โรคอัลไซเมอร์[2] (อังกฤษ: Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) และถูกตั้งชื่อตามท่าน[3] โรคนี้จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หายและจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี[4] แต่ก็พบโรคอัลไซเมอร์ชนิดหนึ่งคือ โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว (early-onset Alzheimer's) ซึ่งเกิดในคนอายุน้อยแต่มีความชุกของโรคน้อยกว่า ประมาณการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2549 มีประชากรราว 26.6 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าใน พ.ศ. 2593[5]




ถึงแม้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีอาการที่พบร่วมกันหลายประการ[6] อาการแรกสุดที่พบคือความเครียด ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเองตามอายุ[7] อาการที่พบในระยะแรกคือการสูญเสียความจำ เช่นพยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้ เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์จะยืนยันการวินิจฉัยโดยการประเมินพฤติกรรมและทดสอบการรู้ และมักตามด้วยการสแกนสมอง[8] เมื่อโรคดำเนินไประยะหนึ่งผู้ป่วยจะมีอาการสับสน หงุดหงิดง่ายและก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน เสียความสามารถทางภาษา สูญเสียความทรงจำระยะยาว และเพิกเฉยต่อสิ่งต่างๆ เนื่องจากผู้ป่วยเสียการรับความรู้สึก[7][9] และต่อมาจะสูญเสียการทำงานต่างๆ ของร่างกาย และเสียชีวิตในที่สุด[10] การพยากรณ์โรคในผู้ป่วยแต่ละรายนั้นทำได้ยากเนื่องจากระยะเวลาของโรคมีความหลากหลาย การดำเนินโรคของโรคนี้จะมีช่วงระยะเวลาที่ไม่แสดงอาการแน่ชัดก่อนจะปรากฏอาการชัดเจน การคาดหมายคงชีพหลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 7 ปี[11] มีผู้ป่วยน้อยกว่าร้อยละ 3 ที่มีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 14 ปีหลังได้รับการวินิจฉัย[12]



สาเหตุและการดำเนินโรคของโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่เข้าใจดีนักในปัจจุบัน งานวิจัยบ่งชี้ว่าโรคนี้มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างคล้ายคราบในสมองที่เรียกว่า พลาก (plaque) และแทงเกิล (tangle) [13] การรักษาในปัจจุบันช่วยเกี่ยวกับอาการของโรคเพียงเล็กน้อย แต่ยังไม่มีการรักษาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการดำเนินโรคอย่างแท้จริง ในปี พ.ศ. 2551 มีการทดลองทางคลินิกมากกว่า 500 งานวิจัยเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยใดที่สรุปว่าประสบความสำเร็จ[14] แม้มีวิธีต่างๆ มากมายที่เชื่อว่าป้องกันโรคอัลไซเมอร์แต่ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าช่วยชะลอการดำเนินโรคและลดความรุนแรงของโรคได้ แต่แนวทางแนะนำที่เชื่อว่าจะช่วยป้องกันและจัดการโรคได้นั้นคือการกระตุ้นทางจิตใจ (Mental stimulation) การออกกำลังกาย และรับประทานอาหารครบทุกหมู่[15]



เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หาย การบำบัดและดูแลผู้ป่วยจึงนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะบทบาทของผู้ดูแลซึ่งมักจะเป็นคู่สมรสหรือญาติใกล้ชิด[16] เป็นที่รับรู้ว่าโรคอัลไซเมอร์นั้นสร้างภาระให้แก่ผู้ดูแลอย่างมาก ทั้งในทางกายสังคม ทางจิต ทางสังคมและเศรษฐกิจ[17][18][19] ในประเทศกำลังพัฒนาโรคนี้นับเป็นหนึ่งในโรคที่ก่อค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจต่อสังคมมากที่สุด[20][21]



ขอบคุณข้อมูลเวป
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หนู มิเตอร์

วันนี้พวงกุญแจและเข็มกลัด "คนหน้าตาดี" ได้รับเกียรติ์จากพี่หนู มิเตอร์ มาเยี่ยมชมและสั่งทำสินค้าในโอกาสนี้ได้ถ่ายรูปประชาสัมพันธ์สินค้าไปในตัวด้วย ขอบคุณพี่หนูจริงๆ ครับ หวังว่าในโอกาสหน้าจะได้ฟังผลงานเพลงใหม่ๆของพี่หนู มิเตอร์กันอีกนะครับ
http://www.siamshop.com/n6uy8q88ct92345

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รับสกรีนเสื้อ

รับสกรีนเสื้อ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีไว้ให้บริการแล้ว
http://www.siamshop.com/n6uy8q88ct92345

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รับทำเข็มกลัด

รับทำเข็มกลัด 44 มม กับ 58 มม
http://www.siamshop.com/n6uy8q88ct92345

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รับทำเข็มกลัด

รับทำพวงกุญแจ และเข็มกลัด
http://www.siamshop.com/n6uy8q88ct92345

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เข็มกลัดโลโก้ต่างๆ

รับทำเข็มกลัดโลโก้ ในแบบต่างๆ ส่งไฟน์ทำได้ทันทีทั้งแบบเล็กและแบบใหญ่คิดราคาเดียวกัน แล้วแต่ลูกค้าจะเลือกใช้ ลูกค้าสามารถออกแบบเองได้ มีทั้งพวงกุญแจ เข็มกลัด ที่เปิดขวดแม่เหล็ก พวงกุญแจแบบกระจก แก้ว และเสื้อเป็นต้นhttp://www.siamshop.com/n6uy8q88ct92345

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เรื่องตาบอดสี

    ตาบอดสี หรือที่เรียกว่า colour blindness เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไป จากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ตาเป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม หากเกิดความ ผิดปกติไม่ว่า จะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้นๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมควร

           ปกติแล้วตาคนเราจะมีเซลรับแสงอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเซลรับแสงที่รับรู้ถึงความมืด หรือ สว่าง ไม่สามารถแยกสีออกได้และจะมีความไวต่อการกระตุ้นแม้ในที่ที่มีแสงเพียงเล็กน้อย เช่น เวลากลางคืน เซลกลุ่มที่สองเป็นเซลล์ทำหน้าที่มองเห็นสีต่าง ๆ โดยจะแยกได้เป็นเซล อีก 3 ชนิด ตามระดับคลื่นแสง หรือสี ที่กระตุ้น คือ เซลล์รับแสงสีแดง เซลล์รับแสงสีน้ำเงิน และเซลรับแสงสีเขียวสำหรับแสงสีอื่น จะกระตุ้นเซลดังกล่าวมากกว่าหนึ่งชนิดแล้วให้สมองเราแปลภาพออก มาเป็นสีที่ต้องการ เช่น สีม่วงเกิด จากแสงที่กระตุ้นทั้งเซลรับแสงสีแดงและเซลรับแสงสีน้ำเงินในระ ดับที่พอ ๆ กัน ซึ่งเซลกลุ่มที่สองนี้จะ ทำงานได้ดีต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ดังนั้นในที่สลัว ๆ เราจึงไม่สามารถแยกสีของวัตถุได้ แต่ยังพอบอก รูปร่างได้ เนื่องจากมีการทำงานในเซลของกลุ่มแรกอยู่ เมื่อเพิ่มแสงสว่างขึ้นเราจึงมองเห็นสีต่าง ๆ ขึ้นมา